คำเตือนสำหรับคนฉีดฟิลเลอร์แล้วหน้าพัง

ฉีดฟิลเลอร์แล้วหน้าพัง

ฟิลเลอร์ (Filler) คือ สารเติมเต็มประเภทไฮยาลูรอนิค แอซิด (Hyaluronic Acid) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า HA ผลิตขึ้นเพื่อเลียนแบบสารที่มีอยู่ในร่างกายตามธรรมชาติ ใช้ทดแทนส่วนสำคัญของโครงสร้างผิว คอลลาเจนและไฮยาลูรอน ที่ร่างกายจะสูญเสียไปเมื่ออายุมากขึ้น

ฟิลเลอร์สามารถฉีดเข้าใต้ชั้นผิวหนังเพื่อเติมเต็มริ้วรอยร่องลึก ปรับรูปหน้า ปรับรูปทรงริมฝีปาก และเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว ฟิลเลอร์มีความปลอดภัยสูง โดยส่วนใหญ่ทำจากสาร Hyaluronic Acid ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่มีอยู่ในร่างกายอยู่แล้ว และสามารถสลายตัวได้เองตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องผ่าตัดหรือพักฟื้น

การเติมเต็มด้วยฟิลเลอร์ยังช่วยในเรื่อง

  • ช่วยเติมเต็มริ้วรอยร่องลึก เช่น ร่องแก้ม ร่องใต้ตา ร่องแก้มปีกจมูก ร่องมุมปาก เป็นต้น ทำให้ใบหน้าดูอ่อนเยาว์ขึ้น
  • ช่วยปรับรูปหน้า เช่น เสริมจมูก เสริมคาง เติมเต็มแก้ม เติมเต็มใต้ตา เป็นต้น ทำให้ใบหน้าดูสมส่วนขึ้น
  • ช่วยปรับรูปทรงริมฝีปาก เช่น เติมเต็มริมฝีปากให้อวบอิ่ม เป็นต้น
  • ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว
  • มีความปลอดภัยสูง โดยส่วนใหญ่ทำจากสาร Hyaluronic Acid ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่มีอยู่ในร่างกายอยู่แล้ว
  • ใช้เวลาทำไม่นาน เพียง 15-30 นาที
  • ไม่ต้องพักฟื้น สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ

ข้อควรระวัง ก่อนเลือกใช้ฟิลเลอร์จากผู้เชี่ยวชาญ

  • ควรเลือกฉีดฟิลเลอร์กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
  • ควรเลือก ฟิลเลอร์ ที่ได้มาตรฐานและได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับฟิลเลอร์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นก่อนตัดสินใจฉีด

แม้ว่าการฉีดฟิลเลอร์จะช่วยลดปัญหา เติมเต็มความมั่นใจในบุคลิกภาพ อย่างไรก็ตามหากไม่พิจารณาฟิลเลอร์และคลินิกความงามที่น่าเชื่อถือ ก็ทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงพบได้บ่อยในผู้ที่ฉีดฟิลเลอร์แล้วหน้าพัง ทำรูปหน้าผิดปกติกว่าเดิม

ฟิลเลอร์เน่าเป็นอย่างไร 

ฟิลเลอร์เน่าทำหน้าพัง สาเหตุหลักเกิดได้จาก การใช้ฟิลเลอร์ปลอม ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งพบได้ในฟิลเลอร์ประเภท Biosynthetic Polymers เช่น 

  • Calcium hydroxylapatite
  • Polymethylmethacrylate
  • ซิลิโคนเหลว

โดยฟิลเลอร์เหล่านี้ไม่สามารถสลายได้ตามธรรมชาติ เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดการอักเสบ ติดเชื้อและผลกระทบอื่นๆ ได้ นอกจากนี้ความชำนาญของแพทย์ที่ฉีดอาจน้อยเกินไปทำให้เกิดความผิดพลาดขณะทำการดูแล ซึ่งอาจทำให้เกิดเนื้อตายจากการอุดตันในเส้นเลือด และอาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็นหากแพทย์ฉีดฟิลเลอร์ผิดตำแหน่งได้เช่นเดียวกัน

รู้ได้อย่างไรว่าฟิลเลอร์เน่า

ฟิลเลอร์โดยปกติแล้วจะสามารถสลายได้เอง เว้นแต่ฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐานหรือฟิลเลอร์ปลอม กรณีที่พบว่าการฉีดฟิลเลอร์มีปัญหา สัญญาณที่ส่งจากร่างกายมักพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้ 

ฟิลเลอร์เน่า

  • คัน บวม ช้ำและเจ็บบริเวณที่ฉีดและบริเวณใกล้เคียง
  • ผิวเข้มขึ้นอันเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือด
  • บริเวณที่ฉีดจับตัวเป็นก้อนแข็ง บางรายอาจเป็นลูกอย่างเห็นได้ชัดเจน
  • ฟิลเลอร์หย่อนคล้อยไปยังบริเวณอื่นๆ ทำให้ผิดรูป
  • ผิวไม่เรียบ สัมผัสแล้วเป็นคลื่น

ฟิลเลอร์เป็นก้อน ผิวไม่เรียบ

การเกิดรอยนูน เป็นก้อนผิวไม่เรียบ เกิดได้จากการฉีดในบริเวณชั้นผิวที่ตื้นเกินไป และอาจเกิดได้จากชนิดของฟิลเลอร์ไม่เหมาะสมกับบริเวณที่เข้ารับบริการ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลให้ฟิลเลอร์เป็นก้อน ผิวไม่เรียบได้ เช่น

  • การดื่มแอลกอฮอล์หรือยาบางชนิดก่อนฉีดฟิลเลอร์
  • การไม่ดูแลตัวเองหลังฉีดฟิลเลอร์ เช่น นอนตะแคงทับบริเวณที่ฉีด
  • โรคประจำตัวบางชนิด เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง

อาการ “แพ้ฟิลเลอร์” เป็นอย่างไร

อาการแพ้ฟิลเลอร์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ มักพบว่ามีอาการคัน เป็นผื่นแดงและในบางรายอาจมีภาวะลมพิษเกิดขึ้น หากพบอาการเช่นนี้ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

  • ระยะเฉียบพลัน จะเกิดภายใน 24 ชั่วโมงหลังฉีดฟิลเลอร์ อาการที่พบบ่อย ได้แก่ บวม แดง ปวด คัน ลมพิษ หายใจไม่สะดวก ความดันโลหิตต่ำ
  • ระยะเรื้อรัง จะเกิดหลังจากฉีดฟิลเลอร์ไปแล้วหลายวันหรือหลายสัปดาห์ อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ก้อนแข็งที่บริเวณที่ฉีด ผิวไม่เรียบ ฝี การติดเชื้อ

วิธีป้องกันอาการแพ้ฟิลเลอร์

  • เลือกฉีดฟิลเลอร์กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
  • เลือกฟิลเลอร์ที่ได้มาตรฐานและได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับฟิลเลอร์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นก่อนตัดสินใจฉีด

วิธีแก้ไขเมื่อแพ้ฟิลเลอร์

วิธีแก้ไขเมื่อแพ้ฟิลเลอร์ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการแพ้ โดยอาจทำได้ดังนี้

  • อาการแพ้ระยะเฉียบพลัน แพทย์อาจให้ยาแก้แพ้ เช่น ยาไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) หรือ ยาลอราทาดีน (Loratadine) เพื่อลดอาการแพ้
  • อาการแพ้ระยะเรื้อรัง พิจารณาใช้ยาฉีดสลายฟิลเลอร์ เช่น ยาไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase) เพื่อสลายฟิลเลอร์ออก
  • นอกจากนี้ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นได้

ใครไม่ควรฉีดฟิลเลอร์

  • ผู้มีประวัติแพ้ไฮยาลูรอนิก แอซิด (Hyaluronic)
  • คุณแม่ตั้งครรภ์ และ/หรือ อยู่ในระหว่างการให้นมบุตร
  • ผู้มีประวัติแพ้ยาชา
  • ผู้มีประวัติเป็นแผลคียลอยด์ได้ง่าย
  • ผู้กำลังเกิดเชื้อเริม และ/หรือ งูสวัด
  • ผู้มีภาวะเลือดออกแล้วหยุดยา ช้ำง่าย

วิธีตรวจสอบฟิลเลอร์แท้ ผ่านมาตรฐานองค์กรเภสัชและยา (อย.)

  1. ก่อนฉีดต้องเปิดกล่อง สำรวจแล้วไม่มีรอยแกะ หรือกล่องชำรุดเสียหาย 
  2. ด้านหลังกล่องมีฉลากภาษาไทยระบุชัดเจน “ยาควบคุมพิเศษ”
  3. ด้านท้ายกล่องปรากฎ วันเดือนปี ที่หมดอายุอย่างชัดเจนและด้านข้างกล่องต้องมีเลขล็อตสินค้าระบุให้เห็นได้ชัดและต้องตรงกันทั้งที่ระบุข้างขวดและกล่องบรรจุภัณฑ์
  4. ขวดมีการซีลผนึกเรียบร้อย ไม่มีรอยแกะ ฉีดหรือเสียหาย ฟิลเลอร์ที่ผ่านการรับรองจากองค์กรเภสัชและยา (อย.)

ดูแลตัวเองหลังฉีดฟิลเลอร์

  1. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  2. หลีกเลี่ยงการทานหมูกะทะ ปิ้งย่าง ชาบู
  3. งดอาหารรสจัด
  4. งดอาหารหมักดอง
  5. งดสูบบุหรี่

ฟิลเลอร์ (Filler) ลดปัญหารูปหน้า ริ้วรอย แต่หากเลือกฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน คลินิกที่ไม่ได้ทำหัตถการโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจทำให้เกิดผลกระทบและมีความเสี่ยงต่อรูปหน้าและหากฉีดโดยขาดประสบการณ์ก็ส่งผลทำให้ตาบอดได้เช่นกัน

Similar Posts